Tag Archives: AEC

โอกาสและอุปสรรคในการขยายตลาดผลิตภัณฑ์สุกรของไทยใน AEC

ไทยนับเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการขยายตลาดส่งออกในภูมิภาคอาเซียน ทั้งในรูปของสุกรมีชีวิต(สุกรพันธุ์ และลูกสุกรขุน) เนื้อสุกร และผลิตภัณฑ์สุกร เนื่องจากมีความพร้อมในการขยายปริมาณการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ จากปัจจุบันที่ไทยมีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 10-12 ล้านตัว/ปี และการเลี้ยงร้อยละ 75 เป็นการเลี้ยงของเกษตรกรรายย่อย ที่เหลืออีกร้อยละ 25 เป็นการเลี้ยงในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อการค้าหรือการเลี้ยงลักษณะลูกเล้า(การเลี้ยงในระบบประกันราคากับโรงงานแปร รูปสุกร) คาดว่าในอนาคตการเลี้ยงจะเข้าสู่ระบบการเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาดใหญ่หรือการเลี้ยงลักษณะลูกเล้ามากขึ้น ซึ่งทำให้มีการยกระดับมาตรฐานการจัดการฟาร์มสุกร และสามารถขยายปริมาณการผลิตเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเพื่อการส่งออกได้เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่การผลิตร้อยละ 98 เพื่อการบริโภคภายในประเทศ โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ คือ • พันธุ์สุกรที่มีคุณภาพ ทั้งสุกรพ่อแม่พันธุ์ และสุกรขุน ซึ่งเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งมีระบบมาตรฐานฟาร์มที่ได้มาตรฐาน ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศอาเซียนใหม่(ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม)มีการนำเข้าสุกรมีชีวิตและนำเอาระบบการจัดการฟาร์มไปเป็นแบบอย่างเพื่อยกระดับฟาร์มสุกรในแต่ละประเทศ • โรงงานชำแหละสุกรมาตรฐานเพื่อการส่งออก 8 แห่ง กำลังการผลิตประมาณ 6,750 … Continue reading

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged , | Comments Off on โอกาสและอุปสรรคในการขยายตลาดผลิตภัณฑ์สุกรของไทยใน AEC

แนวทางการปรับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งของการเลี้ยงสุกรของประเทศในAEC

ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ส่งผลให้ประเทศต่างๆในอาเซียนเร่งพัฒนาศักยภาพการผลิตสุกร โดยการเปิดรับการเข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจการเลี้ยงสุกรและแปรรูปสุกรจากต่างประเทศ โดยแนวทางการปรับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งของการเลี้ยงสุกรของประเทศในAEC ได้แก่ • การเลี้ยงในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อการค้าทดแทนฟาร์มรายย่อยและการเลี้ยงสุกรแบบพื้นบ้าน เดิมการเลี้ยงสุกรส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงของ เกษตรกรรายย่อยและการเลี้ยงแบบพื้นบ้าน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณสุกรที่ผลิตได้นั้นไม่แน่นอน เนื่องจากมักจะประสบปัญหาในเรื่องระบบการจัดการฟาร์มที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะปัญหาการป้องกันโรคระบาดที่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อปริมาณการผลิตสุกร ดังนั้น การพัฒนาการเลี้ยงสุกรในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมาจึงมุ่งเน้นไปที่การเลี้ยงในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อการค้า หรือระบบลูกฟาร์ม โดยเน้นระบบการจัดการฟาร์มที่ทันสมัย ปลอดโรค ถูกสุขลักษณะ และปลอดจากสารเคมีตกค้างในเนื้อสุกร ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในประเทศแล้วยังเป็นการสร้างตลาดส่งออกในอนาคต เนื่องจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนยังคงไม่ได้รับการรับรองจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ(The Office International des Epizooties :OIE) เป็นเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายการส่งออกเนื้อสุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง โดยการส่งออกส่วนใหญ่ยังเป็นสุกรแปรรูป โดยเฉพาะเนื้อสุกรต้มสุก และผลิตภัณฑ์สุกรเท่านั้น • การพัฒนาโรงฆ่าและชำแหละสุกรที่ทันสมัยและได้มาตรฐานสากล เดิมการฆ่าและชำแหละสุกรส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งระบบการจัด เก็บและการขนส่งที่ยังไม่มีระบบการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพของเนื้อสุกรก่อนถึงมือผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนส่วนใหญ่ยังนิยมบริโภคเนื้อสุกรสด และ … Continue reading

Posted in สินค้าและบริการ | Tagged , , | Comments Off on แนวทางการปรับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งของการเลี้ยงสุกรของประเทศในAEC