การเลี้ยงสุกรเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการผลิตเนื้อสัตว์ในประเทศไทยเราอย่างมาก

2

การเลี้ยงสุกรเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการผลิตเนื้อสัตว์ในประเทศไทยเราอย่างมาก มีการพัฒนาทั้งใน ด้านพันธุ์ การให้อาหาร และวิธีการจัดการฟาร์ม จนเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยะประเทศแล้ว หรือล้ำหน้าบางประเทศในแถบเอเซียด้วยกัน ระหว่างปี 2526 จนถึง 2531 ปริมาณการผลิตสุกรในประเทศจะ เพิ่มขึ้น 9.4 เปอร์เซนต์ แต่ในปี 2531 นั้นปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2530 เพียง 2.1 เปอร์เซนต์ ทั้งนี้เป็นเพราะเกิดโรคระบาดขึ้นในช่วงปลายปี 2530 ทำให้สุกรแม่พันธุ์รวมทั้งลูกสุกรตายไปเป็น จำนวนมากการผลิตสุกรจึงไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร อีกสาเหตุก็เพราะอาหารสัตว์มีราคาแพงขึ้นตั้งแต่กลางปี 2530 จนถึงปี 2531 ทำให้ต้นทุนการผลิตในปี 2531 สูงกว่าในปี 2530 ( ตารางที่ 1.2) ผู้เลี้ยงสุกรจึงไม่สามารถเพิ่มการผลิตขึ้นได้ผู้เลี้ยงรายย่อย ที่มีเงินทุนหมุนเวียนจำกัดก็จำเป็นต้องลดปริมาณการเลี้ยงลงหรือเลิกกิจการไปปัจจุบันการเลี้ยงสุกรแบบพื้นบ้านมีแนวโน้ม ลดลงในขณะเดียวกันการเลี้ยงในเชิงธุระกิจการค้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

สุกรนั้นสามารถให้ผลิตภัณฑ์เนื้อในหลายรูปแบบ นับตั้งแต่เนื้อสุกร เนื้อสามชั้น เนื้อสะโพก เครื่องใน จนกระทั่งหนังสุกร เกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มีส่วนใดในร่างกายสุกรสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ระบบการผลิตสุกรก็จะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการผลิตสุกรก็จะเป็นการขุนสุกร หรือมีการผลิตลูกสุกรขายเพื่อนำไปขุนหรือบางฟาร์มก็อาจจะทำการเลี้ยงสุกรพันธุ์เพื่อผลิตพ่อแม่ขาย บางฟาร์มก็อาจจะทำหมดทุกวัตถุประสงค์ทั้งผลิตพ่อแม่พันธุ์ ผลิตลูกสุกรและทำการขุนสุกรไปพร้อม ๆ กันอย่างไรก็ตาม ระบบการเลี้ยงสุกรในปัจจุบันก็จะมีระบบใหญ่ ๆ ด้วยกัน

ระบบการเลี้ยงขนาดเล็ก เป็นการเลี้ยงแบบพื้นบ้าน ซึ่งมักจะเรียกว่าเป็นหมูออมสินมีวิธีการเลี้ยงอย่างง่าย ๆ อาจจะมีการผูกสุกรไว้ใต้ถุนบ้าน หรือขังไว้ในเล้าแบบง่าย ๆ ส่วนใหญ่จะให้เศษอาหาร หรือเศษผัก หรือวัตถุดิบอาหารตามแต่จะหาได้ มาต้มรวมกัน หรืออาจจะให้กินโดยไม่มีการต้ม ซึ่งอาจจะมีการเสริมอาหารข้นหรือไม่ก็ตาม ไม่มีการจัดการและการให้อาหารที่ถูกต้องอันเป็นผลทำให้สุกรโตช้า คุณภาพซากต่ำประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ต่ำ และมักจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดขึ้นกับทั้งสุกร และผู้เลี้ยงสุกรเองด้วย ในปี 2520 ได้มีการศึกษาการเลี้ยงสุกรขุนแบบพื้นบ้านพบว่าผู้เลี้ยงจะต้องใช้เวลาเลี้ยง 10 เดือน 3 สัปดาห์ จึงจะผลิตสุกรได้ขนาดน้ำหนัก 120 กิโลกรัมและเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 11.48 บาท ( ตารางที่ 1.3) วิธีการเลี้ยงแบบนี้จะใช้ต้นทุนต่ำ เหมาะกับผู้ที่มีต้นทุนน้อยและยังไม่มีประสบการณ์พอ หรือไม่มีความสามารถที่จะจัดการดูแลสุกรแบบการค้าได้

This entry was posted in สินค้าและบริการ. Bookmark the permalink.

Comments are closed.