ลูกหมูท้องเสียเกิดจากอะไรได้บ้าง

%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b8%a3

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในอุตสาหกรรมการผลิตสุกร ลูกสุกรถือเป็นผลผลิตที่เป็นดัชนีสำคัญที่ใช้เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์ม ดังนั้นการเลี้ยงเพื่อให้ได้จำนวนลูกสุกรต่อแม่ต่อปีที่มากนั้น ผู้เลี้ยงต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจากลูกสุกรแรกเกิดนั้นระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคยังเจริญพัฒนาไม่เต็มที่ ดังนั้นการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่อลูกสุกรแรกเกิดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ฟาร์มลดการสูญเสียจำนวนลูกสุกรลงได้

ในฉบับนี้ผู้เขียนจึงขอกล่าวถึงอาการหรือโรคที่เป็นปัญหาสำคัญและพบได้บ่อยมากในลูกสุกรดูดนม นั่นคือ อาการท้องเสีย เนื่องจากท้องเสียในลูกสุกรดูดนมนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนมากมักเกิดจาก เชื้ออีโคไล (Colibacilosis) , การได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ,โรคทีจีอี (TGE; Transmissable gastroenteritis), ท้องเสียจากเชื้อคลอสตริเดียม (Clostridial enteritis) , โรคบิดมีตัว (Coccidiosis) และ ท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรตา (Rotaviral enteritis) ซึ่งโรคเหล่านี้ลูกสุกรจะแสดงอาการท้องเสียเป็นหลัก และแต่ละโรคนั้นจะมีอัตราการป่วยและอัตราการตายที่แตกต่างกันออกไป โดยพบว่า สาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสจะทำให้ลูกสุกรแสดงอาการอย่างรวดเร็ว และสร้างความเสียหายที่รุนแรงกว่าการท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรีย โดยสาเหตุของการท้องเสียในลูกสุกรนั้น สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้ออีโคไล(Colibacilosis), เชื้อคลอสตริเดียม(Clostridial enteritis)
  2. ท้องเสียจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคทีจีอี (TGE; Transmissable gastroenteritis), โรคพีอีดี(PED; Porcine epidemic diarrhea) ,โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) และ เชื้อไวรัสโรตา (Rotaviral enteritis)
  3. ท้องเสียจากเชื้อโปรโตซัว ได้แก่ โรคบิดมีตัว (Coccidiosis)
  4. ท้องเสียที่เกิดจากการจัดการ ได้แก่ อุณหภูมิต่ำ, ลมโกรก, ความชื้นสูง, ปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอ

อาการที่แสดง (Clinical signs)

โดยทั่วไปลูกสุกรสามารถแสดงอาการท้องเสียได้ตลอดช่วงดูดนม แต่พบว่ามี 2 ช่วงที่พบอาการท้องเสียได้สูงมากในลูกสุกร คือ ช่วงแรกเกิดถึง 5 วัน และช่วง 7-14 วัน โดยอาการที่แสดงแบ่งออกได้ดังนี้

  1. ชนิดเฉียบพลัน ( Acute Disease )

อาการท้องเสียแบบเฉียบพลัน มักจะพบว่าลูกสุกรที่สุขภาพดีจะตายก่อน เมื่อนำไปผ่าซากจะพบการอักเสบแบบรุนแรงของลำไส้ (Severe acute enteritis)ในขณะที่ไม่พบอาการท้องเสียใดๆ หรือบางครั้งอาจพบว่าลูกสุกรมีการนอนสุมกันและมีอาการตัวสั่น อาจพบว่าบริเวณหางและรูทวารเปียก บริเวณคอกมีกลิ่นเหม็นคาว ลูกสุกรตัวแห้งเนื่องจากภาวะขาดน้ำ และอาจพบอุจจาระได้ตั้งแต่สีขาวจนถึงสีส้มตามบริเวณคอกและในบางครั้งอาจพบว่าก่อนลูกสุกรตายจะแสดงอาการชักแบบหมุนและมีน้ำลายฟูมปากได้

  1. ชนิดกึ่งเฉียบพลัน (Subacute disease)

อาการท้องเสียแบบกึ่งเฉียบพลันนั้นจะคล้ายกับแบบแรก แต่มักจะมีความรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการตายที่ต่ำกว่า โดยอาการท้องเสียแบบกึ่งเฉียบพลันนี้มักจะพบในลูกสุกรที่มีอายุระหว่าง 7-14 วัน และมักจะพบว่าอุจจาระมีลักษณะเป็นน้ำจนถึงเป็นครีมและบ่อยครั้งพบว่ามีสีขาวปนเหลือง

This entry was posted in สินค้าและบริการ. Bookmark the permalink.

Comments are closed.